วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เอตทัคคะ ในด้านเป็นที่รักของปวงชน

       ท่านทั้งหลายเคยปวดเมื่อยกันมั๊ยครับ แน่นนอนว่าต้องเคยกันทุกๆคน ในเมืองไทยเมื่อเกิดอาการเช่นนี้มักจะนึกถึง หมอนวดแผนโบราณ ที่ปัจจุบันมีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเฉพาะที่วัดโพธิ์ ที่ๆชาวต่างประเทศข้ามน้ำข้ามทะเลมาเรียนวิชานวดแผนโบราณกันที่นี่ และเมื่อเราไปใช้บริการนวดแผนโบราณนี้ หลายๆแห่งมักจะมี รูป ท่านปู่ชีวกและบางที่ก็จะมีรูปปู่ฤาษีตั้งไว้คู่กัน ในบทความนี้ผมขอนำประวัติ ท่านปู่ชีวกซึ่งในวงการแพทย์แผนโบราณในปัจจุบันนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น บรมครุแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป



       หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นตำแหน่งนี้มีเกียรติยศต่างจากในสมัยนี้ นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้ง แต่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารไปพบเข้า จึงนำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ชื่อ ชีวก ตั้งขึ้นตามคำกราบทูลตอบคำถามของพระองค์ที่ตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า มหาดเล็กกราบทูลว่า ยังมีชีวิตอยู่(ชีวโก)ส่วนคำว่า โกมารภัจจ์ แปลว่า กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู หรือ กุมารในราชสำนัก หมายถึง บุตรบุญธรรม นั่นเอง

       เมื่อเติบโตขึ้นชีวกถูกพวกเด็ก ๆ ในวังล้อเลียนว่า เจ้าลูกไม่มีพ่อ ด้วยความมานะ จึงหนีพระบิดาไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่นวิชาที่เลือกเรียนคือวิชาแพทย์ แต่เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียน จึงอาสารับใช้พระอาจารย์ เมื่อเรียนอยู่ถึง 7 ปี จึงลาอาจารย์กลับบ้าน ระหว่างทางอาจารย์ให้ไปหาต้นไม้ที่ทำยาไม่ได้ ให้เก็บตัวอย่างมาให้ดู ปรากฏว่ากลับมามือเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้ อาจารย์บอกว่าเขาได้เรียนจบแล้ว จึงอนุญาตให้กลับได้ หลังจากกลับเมืองมาแล้ว ได้รักษาพระเจ้าพิมพ์พิสารให้หายขาดจากภคันทลาพาธ (โรคริดสีดวงทวาร)ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวง และได้รับพระราชทานสวนมะม่วง แต่ต่อมาหมอชีวกก็ได้ถวายสวนนี้ให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย

       ด้วยความที่เป็นคนบำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ไม่เลือฐานะ จึงได้รับการยกย่องากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ในด้าน เป็นที่รักของปวงชน

ถ้าต้องการประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์เพิ่มเติมไปที่นี่ต่อนะครับ
สารานุกรม พระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน
http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok_hist/ubasok-cheevaka-komarapaj.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น