วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ย่านท่าหลวง-ตลาดล่าง จันทบุรี

vinayak-vanich.blogspot.com


      ย่านท่าหลวง เป็นชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรีด้านตะวันตก แต่เดิมรู้จักกันในชื่อที่เรียกกันติดปากว่า "บ้านลุ่ม" ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ของชาวจีนและญวนอพยพตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาได้พัฒนามาเป็น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าของจันทบุรีที่สำคัญแห่ง หนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 มีจุดเริ่มต้นจากเชิงสะพาน วัดจันทร์ ผ่านบ้านท่าหลวงยาวเป็นแนวไปตลอดจนถึงชุมชนตลาดล่าง บริเวณที่เรียกว่าท่าเรือจ้าง อาคารส่วน ใหญ่เป็นที่พักอาศัยและร้านค้าของชุมชนที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5




         ย่านท่าหลวง-ตลาดล่าง มีความสำคัญต่อบทบาทการค้ากับต่างประเทศของจันทบุรีในยุคนั้น คือ เป็นจุด ที่เรือบรรทุกสินค้าของป่าที่รวบรวมมาได้จากป่าแถบตะเคียนทอง น้ำขุ่น คลองพลู วังแซ้มในบริเวณเขาคิชฌกูฎ และ เขาสอยดาว จะล่องลงมาตามลำน้ำจันทบุรี และมาเทียบท่าที่ตลาดท่าหลวง โดยมีกล่มชาวชองซึ่งเป็นชน พื้นเมือง เดิมที่อาศัยอยู่ในแถบเทือกเขาในจันทบุรี ระยอง และตราด เป็นแรงงานในการจัดเก็บของป่านำมาจำหน่าย ในตัวเมืองจันทบุรี ในปีหนึ่งชาวชองจะล่องแพนำสินค้ามาจำหน่ายในเมืองเพียงครั้งเดียว คือในระหว่างเดือน 10 ถึง 12 (เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน) เนื่องจากเป็นฤดูน้ำหลาก สามารถล่องแพลงมาตามลำน้ำได้สะดวก ส่วนใน ฤดูแล้ง ระหว่างเดือน 3 ถึง 5 (เดือนกุมพาพันธ์ถึงเดือนเมษายน) ต้องลำเลียงทางเกวียนซึ่งลำบากและใช้เวลานาน  จึงไม่เป็นที่นิยม ในช่วงที่กองทหารฝรั่งเศสเข้ามายึดครองจันทบุรี (พ.ศ. 2436-2447) การค้าขายในย่านนี้เป็นไปอย่าง คึกคัก นอกจากสินค้าป่าแล้วยังมีการลักลอบจำหน่ายสินค้าประเภทสุรา ฝิ่น กาแฟ ชา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของ ย่านท่าหลวง-ตลาดล่าง ส่งผลให้ทางรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบ สาธารณูปโภคต่างๆในบริเวณนี้ ก่อนบริเวณอื่น


vinayak-vanich.blogspot.com


         ได้มีการประกาศให้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลที่ตำบลตลาดเมืองจันทบุรีเป็นแห่งแรกในเขตจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2451 นอกจากนี้ในช่วงที่มีการค้าขยายตัว มีจำนวนประชากรอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวในย่านนี้ถึงปีละ 100 คนเศษ มี พ่อค้าต่างถิ่น อาทิ แขก กุหล่า พม่า เข้ามาตั้งร้านค้าชั่วคราว รวมทั้งมีพ่อค้าเร่จากบ่อพลอยไพลิน บ่อนาวงที่มาซื้อขาย สินค้าต่างๆ และนำพลอยมาขายปีละนับพันคน เมื่อศูนย์กลางการค้าภายในเมืองจันทบุรีย้ายไปอยู่ที่ ตลาดน้ำพุ   บริเวณถนนศรีจันท์และตรอกกระจ่าง ซึ่งนับเป็นถนนเศรษฐกิจของจังหวัด ผู้ประกอบธุรกิจด้านอัญมณีจะมาซื้อขายพลอยและอัญมณีต่าง ๆ เป็นประจำทุกวันเพราะเป็นที่ตั้งของร้านเจียระไนพลอยและร้านค้าอัญมณี ซึ่งอาจนับได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นตลาดค้าพลอยเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ สามารถเห็นบรรยากาศการซื้อขายพลอย ของบรรดานายหน้าและพ่อค้าพลอย ซึ่งเป็นแหล่งค้าพลอยที่ใหญ่ที่สุดในจันทบุรี มีร้านซื้อขายพลอยดิบและพลอยเจียระไน ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลอยเต็มสองฟากถนน จนขนานนามกันว่าเป็นถนนสายพลอย หรือ ถนนอัญมณี ซึ่งมีพลอยหลายชนิดให้เลือกซื้อเลือกชมกัน ตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยไปจนถึงราคาเรือนแสน  การซื้อขายพลอยคึกคักที่สุดในช่วงวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ มีทั้งร้านเปิดโล่งและร้านติดแอร์ ตั้งเรียงรายอยู่สองฝั่ง ถ. ศรีจันทร์ พ่อค้าจากต่างเมืองจะมานั่งประจำโต๊ะรับซื้อพลอยและมีพ่อค้าพลอยจากต่างประเทศเช่นจากศรีลังกา จากแอฟริกา นำพลอยมาค้าขายและ มาซื้อหาพลอยกลับไปด้วย  แต่ละโต๊ะมีอุปกรณ์สำคัญในการดูพลอย ทั้งคีมคีบ แว่นขยาย เครื่องคิดเลข และตาชั่งสำหรับชั่งน้ำหนักพลอยเป็นกะรัต พร้อมสรรพ



         แม้ปัจจุบันบรรยากาศการซื้อขายพลอยบน ถ. ศรีจันทร์ ไม่รุ่งเรืองและคึกคักเช่นในอดีต แต่ก็เป็นตลาดพลอยแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่  นักท่องเที่ยวสามารถชมการเจียระไนพลอย การโกลนพลอยได้ด้วย ที่เดินทางมาจากที่ต่าง ๆ กันทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังมีการค้าขายพลอยดิบอีกด้วย โดยจะเปิดตลาดในช่วงเช้าเวลา 08.00 น. จนถึงประมาณ 15.00 น. มีนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายพลอยมาชุมนุมต่อรองราคากันอย่างคึกคัก นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองจันทบุรีซึ่งไม่อาจพบได้ในจังหวัดอื่น



         ลักษณะ ของย่านท่าหลวง-ตลาดล่างมีลักษณะเป็นตึกแถวโบราณมีลวดลายไม้จำหลักอ่อนช้อยงดงาม อยู่ตามบานประตูหน้าต่างและมุมอาคารซึ่งจะพบรูปแบบเรือนขนมปังขิงปะปนอยู่ ด้วย เพราะชาวจันทบุรีได้รับอิทธิพลจากการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศเมื่อสมัย ร. 5 ย่านท่าหลวงยังปรากฏให้เห็นวัฒนธรรมการตั้งบ้านเรือนหรือ ร้านค้าที่หันหลังให้แม่น้ำ หันหน้าเข้าสู่ถนน บ้านเรือนเป็นเรือนติดดิน นิยมสร้างเป็นเรือนหลังใหญ่ทรงจั่ว ใช้วัสดุในท้องถิ่นก่อสร้าง อาทิ ไม้แฝก ใบจาก นิยมยื่นชายคากออกมาเพื่อเป็นร้านค้าติดระเบียงทางเดินด้านหน้า ตามลักษณะที่พักอาศัยกึ่งพาณิชย์อันเป็นลักษณะวัฒนธรรมการค้าขายของชาวจีน อาคารพักอาศัยและร้านค้าย่านท่าหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์อย่างมาก ควรจะมีการอนุรักษ์เอาไว้เพื่อการท่องเที่ยว



การเดินทางไปชุมชนเก่าริมน้ำย่านท่าหลวง-ตลาดล่าง
     - รถยนต์ส่วนตัว มื่อเดินทางมาถึงจังหวัดจันทบุรี ผ่านศาลหลักเมืองบริเวณหน้าค่ายตากสินแล้ว ขับรถผ่านหน้าสถานีตำรวจภูธร จังหวัดจันทบุรี ถึงเชิงสะพานวัดจันทร์ หาที่จอดรถ ชุมชนย่านท่าหลวงจะอยู่ทางด้านขวามือ
     -โดยรถสาธารณะ  รถตู้ไปจันทบุรี ขึ้นรถที่เซ็นจูรี่ให้บริการทุกวัน เริ่มตั้งแต่ 6 โมงเช้า - 1 ทุ่ม ราคาเที่ยวละ 200 บาท โดยรถตู้จะจอด ที่ห้างโรบินสัน จากนั้นนั่งรถมอเตอร์ไซต์รับจ้างบอกว่าไปลวสะพานวัดจันทร์ ค่าโดยสาร 25 บาท
     - รถโดยสารปรับอากาศ บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) และหมอชิต ทุกวัน ตั้งแต่ 04.00 - 24.00 น. ออกทุกชั่วโมง

more pictures